เราจะมาพูดคุยกันในเรื่อง เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ ( Natural gas ) ตัวหนึ่งที่อยู่คู่คนเรามานาน นั้นก็คือ LPG ( Liquefied petroleum gas ) หรือภาษาบ้านๆ ที่พูดออกไปแล้วใครๆก็รู้คือ ก๊าซหุงต้มนั้นเอง
จะเห็นได้ว่าในบ้านเรามีถังบรรจุก๊าซหุงต้ม อยู่หลายขนาด ตั้งแต่ 1.5 - 48 กิโลกรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักของก๊าซที่บรรจุอยู่ในถังเท่านั้น ไม่ได้รวมน้ำหนักของถังเข้าไปด้วย ก๊าซหุงต้มในบ้านเรามีส่วนผสมหลัก
อยู่ 2 ชนิดคือ โพรเพน และ บิวเทน ซึ่งเป็นสารติดไฟทั้งคู่
LPG นั้นได้มาจากน้ำมันดิบ ( น้ำมันดิบจริงๆนะ ) แล้วได้มายังไงละ ได้จากการให้ความร้อนกับน้ำมันดิบ
ก๊าซสามารถแยกตัวออกจากน้ำมันดิบได้ที่อุณหภูมิแค่ 20 องศาเซลเซียส
ก๊าซหุงต้มมีลักษณะเป็นไอ้ก๊าซ ไม่มีกลิ่นโดยธรรมชาติ แต่เพื่อความปลอดภัยทางผู้ผลิตจึงมีการเติมกลิ่นเข้าไป คุณสมบัติของก๊าซ สามารถติดไฟได้ง่าย ที่อุณหภูมิ 400 C ( แค่สะเก็ดไฟก็สามารถทำให้ติดไฟได้ ) ก๊าซนั้นมีน้ำหนักมากกว่าอากาศจึงตกรวมกันที่พื้น
การบรรจุก๊าซลงถังเมื่อก๊าซในถังมีความดันประมาณ 6-7 bar ( 1 bar = 14.7 psi ) ก๊าซจะเริ่มกลั่นตัวเป็นของเหลว เราสามารถตรวจดูว่าถังของคุณมีก๊าซหรือไม่ โดยการโยกถัง เบาๆ ถ้ารู้สึกว่าเหมือนมีน้ำอยู่ละก็แสดงว่ายังมีก๊าซอยู่นะครับ
ในการเลือกซื้อใบแรก และ แลกเปลี่ยนถังควรจะเป็นถังใหม่ รอยเชื่อมของถังจะต้องสวย ไม่รอยบุบ รอยบวม หัววาล์วทองเหลืองต้องอยู่ในสภาพใช้งานได้ปกติ ซึ่งแน่นอนถังทุกใบผลิตโดยเครื่องจักรเกือบ 100% แต่กว่าจะมาถึงผู้บริโภคถังก็ผ่านอะไรมาก็ไม่รู้
แล้วก็อีก 1-2 เรื่องคือ 1.ถังก๊าซหุงต้มควรอยู่ในร่ม อยู่ห่างจากไฟ ประมาณ 3-5 เมตร เพื่อความปลอดภัยถังที่ดียิ่งขึ้น
2.สำหรับผู้ต้องการติดตั้ง LPG ในรถยนต์และผู้ที่ติดตั้งไปแล้ว ผมแนะนำเลยคือควรนำรถของท่านไปตรวจเช็คสภาพ เป็นระยะ จะดีที่สุด ไม่มีอะไรแน่นอนครับ
ส่งท้าย บทความนี้พิมพ์ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของทุกๆคน บางข้อความพิมพ์ขึ้นด้วยความรู้ที่ได้จากโครงการต่างๆที่มาสอนให้ความรู้ และจากข้อมูลภายนอก ถ้าถูกผิดในส่วนใด ก็ขออภัยใน ณ ที่นี้
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
http://ellebazi.exteen.com/20080627/ngv-lpg
http://www.gasthai.com
http://www.pttplc.com/en/Default.aspx
http://www.bangchak.co.th/th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น